ปัจจุบันแบรนด์ ตราสินค้า และสัญลักษณ์กลุ่ม (Cluster Brand) ที่น่าสนใจสามารถดึงดูดลูกค้าให้ชมสินค้า และเป็นที่จดจำในตัวสินค้านั้นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม รวมถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ซื้อเป็นอีกแนวทางในการเพิ่มยอดขายของผู้ประกอบการได้ ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานจังหวัดกาญจนบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จสูงสุด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำ โครงการยกระดับขีดความสามารถการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม ข้าวโพดหวานจังหวัดกาญจนบุรี กิจกรรมการออกแบบ และพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์กลุ่ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบนวัตกรรมในการผลิตสินค้าใหม่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบัน ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างผลกำไรและการเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยได้มอบหมาย บริษัท เอซีที อินเทลลิเจนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2554 จนถึง วันที่ 19 กันยายน 2554 ในการดำเนินโครงการประมาณ 90 วัน
บริษัท เอซีที อินเทลลิเจนท์ จำกัด ได้ดำเนินโครงการในระยะที่ 1 เสร็จสิ้นแล้ว โดยครอบคลุมกิจกรรมการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน และพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อ และบริโภคข้าวโพดหวาน การศึกษาและสำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานที่ต้องการสร้างตราสัญลักษณ์ของกลุ่ม (Cluster Brand) เพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์รวมถึงการจัดเตรียมความพร้อมในการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์เป็นกลุ่ม (Cluster Brand) ด้วยกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Work Shop ) โดยได้รวบรวมไว้ในรายงานฉบับต้น (Inception Report) เพื่อนำเสนอต่อ อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ได้ทราบถึงความคืบหน้าและผลของการดำเนินโครงการ
คณะที่ปรึกษา
บริษัท เอ ซี ที อินเทลลิเจนท์ จำกัด
สิงหาคม 2554
บริษัท เอซีที อินเทลลิเจนท์ จำกัด ได้ดำเนินโครงการในระยะที่ 1 เสร็จสิ้นแล้ว โดยครอบคลุมกิจกรรมการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน และพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อ และบริโภคข้าวโพดหวาน การศึกษาและสำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานที่ต้องการสร้างตราสัญลักษณ์ของกลุ่ม (Cluster Brand) เพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์รวมถึงการจัดเตรียมความพร้อมในการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์เป็นกลุ่ม (Cluster Brand) ด้วยกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Work Shop ) โดยได้รวบรวมไว้ในรายงานฉบับต้น (Inception Report) เพื่อนำเสนอต่อ อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ได้ทราบถึงความคืบหน้าและผลของการดำเนินโครงการ
คณะที่ปรึกษา
บริษัท เอ ซี ที อินเทลลิเจนท์ จำกัด
สิงหาคม 2554
--------------------------------------------------------------------------
ขอบข่ายของงานและขั้นตอนการดำเนินงาน
โครงการยกระดับขีดความสามารถการรวบกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี
ปีงบประมาณ 2554
1. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการที่เกิดผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างสูง ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือในด้านการวิจัย การอบรมการใช้ทรัพยากร เครื่องมือ เครื่องจักรร่วมกัน การร่วมกันในการขนส่ง รวมไปถึงการส่งวัตถุดิบเพื่อการผลิต ซึ่งกันและกัน ผลสุดท้ายจะทำให้เกิดการลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการรวมกัน และสามารถสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้กับผู้ประกอบการต่อไปด้วย โดยที่ปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานในจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็งมานานแล้ว และทำการผลิตสินค้าข้าวโพดหวานส่งออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันแบรนด์ ตราสินค้า และสัญลักษณ์กลุ่ม (Cluster Brand) ที่น่าสนใจสามารถดึงดูดลูกค้าให้ชมสินค้า และเป็นที่จดจำในตัวสินค้านั้นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม รวมถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ซื้อเป็นอีกแนวทางในการเพิ่มยอดขายของผู้ประกอบการได้
ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานจังหวัดกาญจนบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จสูงสุด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำโครงการยกระดับและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์เป็นกลุ่มของตนเอง (Cluster Brand) รวมถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลให้สามารถแข่งขัน และอยู่รอดในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบัน ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างผลกำไรและการเติบโตได้อย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
การจัดจ้างที่ปรึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อยกระดับขีดความสามารถการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี โยคำนึงถึงประเด็นหลักดังต่อไปนี้
2.1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการออกแบบพัฒนาตราสินค้า และผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการศึกษาเพื่อเกิดการพัฒนาแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาตราสินค้า และผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตนเองในอนาคต
2.2 เพื่อส่งเสริมและต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานได้มีตราสินค้าของกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Cluster Brand) เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักและได้รับกานยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น
2.3 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มอุตสาหกรรม มีการพัฒนา/ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์สินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมอันจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
3. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานจังหวัดกาญจนบุรี
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการเพื่อการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์เป็นกลุ่ม (Cluster Brand) รวมถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีนวัตกรรมบริษัทฯได้กำหนดขอบเขตและแนวทางในการดำเนินงานทั้ง 2 แผนงานดังนี้
แผนงานที่ 1 การดำเนินการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์เป็นกลุ่ม (Cluster Brand)
1. ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน และพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อ และบริโภคข้าวโพดหวาน
2. ศึกษาและสำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานที่ต้องการสร้างตราสินค้าของกลุ่ม (Cluster Brand) เพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
3. จัดเตรียมความพร้อมในการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์เป็นกลุ่ม (Cluster Brand) ด้วยกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Work Shop)
4. จัดทำรายงานฉบับต้น (Inception Report) เพื่อสรุปแนวทางการดำเนินกิจกรรมและแผนการดำเนินงาน
5. แนวคิดในการสร้างตราสินค้า ของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน (Sweet corn processing industry Cluster Brand) และกำหนดรากฐานของตราสินค้า (Brand Platform) รวมถึงหลักเกณฑ์การใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าคุณภาพของจังหวัด
6. ออกแบบตราสินค้าและนำเสนอ (ต้นแบบ) จำนวน 2-3 แบบ เพื่อให้กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องร้วมพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการปรับปรุงแก้ไข
7.ปรับปรุงแก้ไข (ต้นแบบ) ตามคำแนะนำของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง (หากมีการแก้ไขเพิ่มเติม)
8. ทำการคัดเลือกตราสัญลักษณ์กลุ่ม (Cluster Brand) จำนวน 1 แบบเพื่อดำเนินการจัดพิมพ์ จัดการผลิตโดยไม่ต้องทำการแก้ไขอีก
9. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
แผนงานที่ 2 การดำเนินงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
1. ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพด และพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อ และบริโภคข้าวโพดหวาน
2. ศึกษาและสำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานที่ต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
3. จัดเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Work Shop)
4. จัดทำรายงานต้นฉบับ (Inception Report) เพื่อสรุปแนวทางดำเนินกิจกรรมและแผนการดำเนินงาน
5. กระบวนการสร้างแนวคิด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานด้วยการคิดด้วยกระบวนการที่แตกต่าง สร้างต่าง สู่แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
6. ดำเนินการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คิดค้นให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน (ต้นแบบ) และนำเสนอจำนวน 2-3 ผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งด้านการตลาด การผลิต และการลงทุน เพื่อให้กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการปรับปรุงแก้ไข
7. ปรับปรุงแก้ไข (ต้นแบบ) ตามคำแนะนำของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง (หากมีการแก้ไขเพิ่มเติม)
8. ทำการตัดเลือกผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์เพื่อดำเนินการผลิตจริง
9. ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติด้านการผลิตจนผู้ผลิตสามารถผลิตได้ตามปรกติของระยะเวลา จำนวนแรงงาน เครื่องมือ และสถานที่ผลิตเดิมโดยใช้สถานที่ถ่ายทอดของกลุ่ม หรือสถานที่ที่เหมาะสมแล้วแต่จะตกลง
10. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report) เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของทั้งโครงการ
5. ผลที่ต้องการ
กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ ตราสัญลักษณ์กลุ่ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบในการผลิตสินค้าใหม่ โดยตรวจสอบตามตัวชี้วัดดังนี้
1. กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานสามารถพัฒนาตราสัญลักษณ์กลุ่ม (Cluster Brand) จำนวน 2-3 แบบ และสามารถนำไปใช้ได้จริงจำนวน 1 แบบเพื่อการส่งเสริมทางด้านการตลาดและเป็นการพัฒนาตราสินค้าของกลุ่ม
2. กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวาน การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการคัดเลือกจากกระบวนการ Creative อย่างน้อย 2-3 ผลิตภัณฑ์ และสามารถนำมาใช้ผลิตได้จริงจำนวน 1 ผลิตภัณฑ์
3. ผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำด้านการตลาดและการออกแบบรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักกว้างขวางและสามารถแข่งขันในตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
6. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
1. ตราสัญลักษณ์กลุ่ม (Cluster Brand) ที่มีความสัมพันธ์กับจังหวัดกาญจนบุรีและกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดหวานจำนวน 1 แบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
2. ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการคัดเลือกจากกระบวนการ Creative จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปผลิตได้จริง