การดำเนินการออกแบบ

วิธีดำเนินการสร้างแบรนด์ 
    ทีมงานที่ปรึกษาและสมาชิกที่เป็นตัวแทนจากสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี ได้ร่วมกันดำเนินการตามกรอบแนวคิด ตามขั้นตอนของการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการสนทนากลุ่มพิจารณาตัดสินใจคัดเลือกแบบ( Participatory and Focusgroups Research)และวิธีดำเนินการออกแบบ(Design Process) ดังแสดงภาพไดอะแกรมสรุปเป็น 4 ขั้นตอน ไว้ดังภาพนี้คือ

     การมีส่วนร่วมวางกรอบแนวคิด ในการดำเนินการออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐาน
สำหรับคลัสเตอร์ข้าวโพดหวาน กาญจนบุรี (The Standard Corporate Graphic Identity Design of Kanchanaburi Sweet Corn Cluster Participatory Research)

ขั้นที่ 1.การศึกษาข้อมูลองค์กรและข้อเสนอแนวความคิดเบื้องต้นในการออกแบบตราสัญลักษณ์ของเครือข่าย
(Investigation and Preliminary Research Stage) ได้แก่

-การศึกษาข้อมูล-ความรู้ภาคสนาม/การสัมภาษณ์(Documentary & Field Study/Indepth Interview)
-การศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะและความต้องการใช้งานกราฟิกเอกลักษณ์ขององค์กร (Need Assessment & Implement)
     เพื่อเป็นการวิเคราะห์-สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการออกแบบ(Visual Graphic Identification and Design Brief)
และการกำหนดกรอบแนวความคิดในการออกแบบและพัฒนากราฟิกเอกลักษณ์หรือคลัสเตอร์แบรนด์(ฺBrand Corporate Graphic Identity Idea and Development Framework)
ขั้นที่ 2. การออกแบบสร้างสรรค์กราฟิกเอกลักษณ์ทางเลือก(New Corporate Graphic Identity Alternative Design)
ขั้นที่ 3. การมีส่วนร่วมพิจารณาและตัดสินคัดเลือกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐาน(Standard Corporate Graphic Design Focusgroups and Decision Making)
ขั้นที่4.การสรุปและนำเสนอผลงานต้นแบบ/การผลิตต้นแบบจัดทำคู่มือการใช้แบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐาน/(Design Conclusion : Original Artwork and Standard Manual Making)

การดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1
การมีส่วนร่วมวางกรอบแนวคิดหลักร่วมกัน 
โดยการสรุป-แจ้งกรอบแนวคิดหลัก
เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน เป็นภาคความรู้
และการเห็นความสำคัญ โดยการเข้าเยี่ยมชมกิจการ การพูดคุย การสัมภาษณ์และแจ้งวัตถุประสงค์ อันเป็นการสำรวจสถานการณ์จริงในสถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปและผู้แทนเครือข่ายวิสาหกิจข้าวโพดหวานที่ได้รับการคัดเลือกและประสานงานจากภาครัฐโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี โดยทีมงานที่ปรึกษาได้จัดทำแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง เพื่อการสัมภาษณ์และสรุปข้อมูลในประเด็นที่ต้องการและได้สรุปผลในขั้นตอนที่ 1 ดังนี้คือ
1.สร้างเครื่องมือสนับสนุนการร่วมทำงาน โดยการออกแบบจัดทำเว็บไซต์อย่างง่าของเว็บไซต์กูเกิ้ลบล็อกเกอร์ที่มีเครื่องมือสนับสนุนการมีส่วนร่วม ที่สมาชิกทุกคนสามารถเข้าถึงเข้าใช้ได้ง่ายตลอดเวลา ใช้งานร่วมกันได้ฟรี และเป็นสากล เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสาร เป็นศูนย์การเรียนรู้-แบ่งปันองค์ความรู้ข่าวสารสาระต่างๆได้อย่างยั่งยืน โดยเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วก็ยังสามารถดำเนินการติดต่อประสานงานได้อย่างสืบเนื่องและสอดรับกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายแบบร่วมสมัย โดยการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมร่วมกันได้ภายใต้ทักษะงานและความรู้พื้นฐานที่เป็นจริง ตามที่อยู่ออนไลน์ URL:http://kanchanaburiseetcorn.blogspot.com
2.สรุปกรอบแนวคิดและสาระหลัก
เครือข่ายวิสาหกิจหรือคลัสเตอร์(Cluster) คือการสร้างความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อระดมสรรพกำลัง และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การสร้างกลไกความเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกในเครือข่ายและองค์กรภายนอก
ตราสัญลักษณ์หรือแบรนด์(Brand) คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหัวใจสำคัญของการตลาดยุคใหม่ เป็นเครื่องมือที่ช่วยวางรากฐานแนวคิดของ การใช้ตราสัญลักษณ์และการสร้างประสบการณ์ร่วม ที่จะสร้างความคุ้นเคยและความผูกพันระหว่างความเป็นเจ้าของแบรนด์นั้นๆ ให้เกิดแก่จิตใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างยั่งยืน
แบรนด์ จึงมีความหมายต่อสถานะขององค์กรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ องค์กรทางธุรกิจ โดยมิได้มีความหมายเพียงสิ่งที่เห็นเป็น ชื่อ ยี่ห้อ หรือตราสัญลักษณ์ แต่ยังหมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์กรได้สร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าหรือผู้ที่มีส่วนร่วม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหลาย ให้สามารถแยกแยะความเป็นตัวตนเฉพาะที่โดดแด่นออกจากคู่แข่งอื่นๆได้ อีกทั้งยังส่งให้บังเกิดผลแบบผสมผสานในสิ่งที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการทั้งหมดขององค์กรเป็นภาพสรุปรวมขึ้นมาหรือที่เรียกว่าภาพพจน์ในใจ(Brand Image)นั่นเอง หากองค์กรหรือธุรกิจของคุณมีการบริหารแบรนด์อย่างถูกต้อง  การสร้างแบรนด์ก็จะเป็นการลงทุนที่สามารถสร้างมูลค่าสินทรัพย์ให้สูงเกินกว่ามูลค่าจริงของตัวสินค้าและโรงงานที่คุณมี  ในที่สุดแบรนด์จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่สร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งให้แก่องค์กรหรือธุรกิจได้ในระยะยาว
ผลสรุปแนวคิดหลัก โดยการประชุมชี้แจงร่วมกัน สามารถสรุปสาระคงเดิมไว้เพื่อเป็นกลักการร่วมกันคือ
เครือข่ายวิสาหกิจหรือคลัสเตอร์(Cluster) คือการสร้างความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อระดมสรรพกำลัง และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การสร้างกลไกความเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกในเครือข่ายและองค์กรภายนอก
ตราสัญลักษณ์หรือแบรนด์(Brand) คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหัวใจสำคัญของการตลาดยุคใหม่ เป็นเครื่องมือที่ช่วยวางรากฐานแนวคิดของ การใช้ตราสัญลักษณ์และการสร้างประสบการณ์ร่วม ที่จะสร้างความคุ้นเคยและความผูกพันระหว่างความเป็นเจ้าของแบรนด์นั้นๆ ให้เกิดแก่จิตใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างยั่งยืน  แบรนด์ จึงมีความหมายต่อสถานะขององค์กรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ องค์กรทางธุรกิจ โดยมิได้มีความหมายเพียงสิ่งที่เห็นเป็น ชื่อ ยี่ห้อ หรือตราสัญญลักษณ์ แต่ยังหมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์กรได้สร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าหรือผู้ที่มีส่วนร่วม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหลาย ให้สามารถแยกแยะความเป็นตัวตนเฉพาะที่โดดเด่นออกจากคู่แข่งอื่นๆได้ อีกทั้งยังส่งให้บังเกิดผลแบบผสมผสานในสิ่งที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการทั้งหมดขององค์กรเป็นภาพสรุปรวมขึ้นมาหรือที่เรียกว่าภาพพจน์ในใจ(Brand Image)นั่นเอง หากองค์กรหรือธุรกิจของคุณมีการบริหารแบรนด์อย่างถูกต้อง  การสร้างแบรนด์ก็จะเป็นการลงทุนที่สามารถสร้างมูลค่าสินทรัพย์ให้สูงเกินกว่ามูลค่าจริงของตัวสินค้าและโรงงานที่คุณมี  ในที่สุดแบรนด์จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่สร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งให้แก่องค์กรหรือธุรกิจได้ในระยะยาว
ซึ่งความรู้ภาคขยายในประเด็นที่เกี่ยวข้องนี้นั้นได้สรุป-แจ้ง-เสนอสมาชิกในเครือข่ายไว้แล้วในเว็บไซต์ URL:http://kanchanaburiseetcorn.blogspot.com
สรุปประเด็นคำถามที่สัมภาษณ์

คำถามที่1.ท่านอยากเห็นอยากได้คลัสเตอร์แบรนด์ที่มีคุณลักษณะที่มองเห็นอย่างไรบ้าง(Brand Vision & Attribute) เช่น มีการใช้ชื่อ ข้อความที่สื่อสารเฉพาะ ตัวอักษรย่อ ภาษา สีสัน ภาพ ลวดลาย แบบตัวอักษร การสื่ออารมณ์ หรือการนำไปใช้ร่วมกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ เครื่องแต่งกาย กิจกรรม การบริการ ฯลฯ      สรุปประเด็นที่เป็นแก่นสาระของแนวคิดเพื่อการสร้างสรรค์แบบตราสัญลักษณ์จากการที่ได้ประชุมชี้แจงและการเสนอแนวคิดแบบมีส่วนร่วมกับผู้แทนมีดังต่อไปนี้คือ
1.1 แบบตราสัญลักษณ์ของเครือข่ายควรใช้ชื่อตั้งของกลุ่มให้ถูกต้องชัดเจนสามารถบ่งชี้(Select)และครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของการจัดตั้ง(Identity)และเป็นกลางเพื่อสื่อสารความเป็นเครือข่ายหรือสมาชิกจัดตั้งในวงแคบคือจังหวัดกาญจนบุรี ในวงกว้างคือระดับสากล
1.2 แบบตราสัญลักษณ์ของเครือข่ายควรใช้ชื่่่อภาษาเป็นภาษาไทยและภาษาสากล เพื่อสามารถสื่อสาร(Communication)ความหมายและความเข้าใจได้ตรงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
1.3.ควรใช้ภาพประกอบที่สื่อความหมายความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็วด้วยการใช้ภาพข้าวโพด ที่มีรูปลักษณ์ที่สามารถเป็นการบ่งชี้ความแตกต่าง(Difference)ได้อย่างชัดเจน
1.4 สีที่ใช้ควรเป็นสีที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของข้าวโพด หรือสื่อถึงธรรมชาติของข้าวโพดหวาน
1.5 อาจใช้ชื่อย่อเป็นภาษาสากลที่มีลักษณะเอกลักษณ์เฉพาะหรือสื่อความหมายแสดงถึงกิจกรรม
1.6 แบบตราสัญลักษณ์ที่สำเร็จควรสามารถนำไปใช้กับการผลิตหรือนำไปใช้ร่วมในผลิตภัณฑ์สินค้า สื่อหรือการโฆษณาต่างๆของสมาชิกได้ง่าย ไม่ยุ่งยากทางการผลิตหรือร่วมสมัยกับเทคโนโลยีการผลิตโดยมีมาตรฐานกำกับการนำไปใช้ร่วมกัน
คำถามที่ 2.ท่านคิดว่าคลัสเตอร์ข้าวโพดหวานกาญจนบุรีควรมีกิจกรรมหรือโครงการร่วมกันอะไรบ้าง(Cluster  Brand Activity) เพื่อทำให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนทั้งในจังหวัด ในประเทศ และต่างประเทศ - เช่น กิจกรรม โครงการ......ระยะสั้น ระยะยาว เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ  เพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
สรุปประเด็นจากคำสัมภาษณ์คือ
2.1 การให้ความสำคัญและความร่วมมือในการเผยแพร่ ดูแล รักษามาตรฐานแบบตราสัญลักษณ์ของเครือข่าย โดยการนำไปใช้ในรูปแบบ โอกาสและสถานที่อันสมควร ทั้งภายในและภายนอกองค์กรของตนเอง
2.2 ควรมีการใช้ตราสัญลักษณ์ของเครือข่ายเป็นเครื่องมือในการ กระตุ้นเตือน ส่งเสริมและชี้นำให้เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับภาคสังคมทั้งภายในจังหวัดและหรือระดับสากล ด้วยการร่วมกันโฆษณา เผยแผ่ประชาสัมพันธ์แนวคิดให้เกิดผลกระทบเป็นแนวร่วมแนวกว้าง สร้างสำนักความเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางข้าวโพดหวานในนามของจังหวัดกาญจนบุรี เช่นการสร้างสโลแกนประกาศร่วมกันว่า กาญจนบุรี เมืองแห่งข้าวโพดหวานพันธุ์ดีต้นแบบ ซึ่งอาจจะเิริ่มจากการให้ปรากฏบนผลิตภัณฑ์หรือสื่อเคลื่อนที่ขององค์กรของเครือข่าย และการขอความร่วมมือจากทุกองค์กร โดยสมาชิกในเครือข่ายช่วยกันดูแลระวังรักษาการใช้ตราสัญลักษณ์ให้ถูกต้อง
คำถามที่ 3.ท่านคิดว่าคลัสเตอร์ข้าวโพดหวานกาญจนบุรี จะทำให้กลุ่มผู้บริโภคมีประสบการณ์ร่วม(Brand Experience)ในตราสัญลักษณ์ของตนอย่างไรบ้าง
สรุปประเด็นจากคำสัมภาษณ์คือ
3.1 ควรมีการจัดกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในเครือข่ายเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการส่งสารไปถึงผู้ประกอบการรายย่อยและหรือรายใหม่ ที่ต้องการเข้าร่วมเครือข่าย เช่นการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆหรือศักยภาพในทางการผลิตของสมาชิก เทคนิคการพัฒนาสินค้า ตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...